หัวข้อนี้ทางทีมงาน บริษัทดังปัง จะมาบอกเทคนิคและสอนการเขียนบทความกันนะครับ รวมไปถึงการเลือกประเด็นต่างๆที่จะนำมาเขียน ซึ่งในที่นี้ผมค่อนข้างมั่นใจว่าทุกคนอยากเขียน แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มเขียนยังไง จะเลือกหัวข้อยังไง ดังนั้นบทความนี้จึงจะมาบอกวิธีการเริ่มเขียนบทความกันครับ
ก่อนอื่นเลยนั้นเราต้องมีวัตถุประสงค์ในการเขียนก่อน คือเราต้องรู้ก่อนว่าเราจะเขียนไปเพื่ออะไร
- เขียนเพื่อเล่าประสบการณ์
- เขียนเพื่อบอกวิธีใช้งาน ให้ความรู้ต่างๆ
- เขียนเพื่อขายของขายสินค้า
- เขียนเพื่อสร้างกำลังใจ
พวกนี้เป็นเพียงวัตถุประสงค์คร่าวๆเท่านั้นนะครับ แต่เอาเป็นว่าก่อนที่เราจะเริ่มเขียนอะไรก็ตามเราต้องรู้ก่อนว่าเราจะทำมันไปทำไมก่อน
ต่อมาเราก็ต้องมาดูถึง การเลือกประเด็น ที่จะเล่า
สำหรับวิธีการเลือกประเด็นนั้นอาจจะหมายถึงรูปแบบการนำเสนอว่าเราอยากจะเล่าเรื่องนี้ในมุมไหนเช่น ถ้าเราต้องการ แนะนำวิธีการซักผ้าขาว เราก็สามารถพูดได้ในหลายมุมมองไม่ว่าจะเป็น
- 3 วิธีการซักผ้าขาว
- ขั้นตอนการซักผ้าให้ขาวอย่างถูกวิธี
- ใส่เสื้อขาวยังไงก็ดูดี
จะเห็นได้ว่าทั้งหมดนี้เป็นวิธีการทำให้ผ้าขาวทั้งนั้น แต่เราสามารถเล่าได้หลากหลายมุม เพื่อให้ผู้อ่านอยากอ่านบทความของเรา ซึ่งส่วนนี้ก็จะไปสัมผัสกับวิธีการเล่า
วิธีการเล่านั้นมีทั้งการเขียนบทความยาวๆ การเขียนเป็นขั้นเป็นตอน การใช้รูปภาพประกอบ การทําอินโฟกราฟฟิคหรือสุดท้ายการทำวีดีโอ แต่ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นต้องเริ่มจากการเขียนออกมาเป็น outline กำกับก่อนเสมอ
การวางเนื้อหาให้น่าสนใจและน่าจดจำ แน่นอนว่าการเขียนบทความนั้นหากเริ่มต้นไม่น่าสนใจแล้วก็ยากที่จะทำให้อยากอ่านต่อ ดังนั้นการวางเนื้อหาจึงเป็นอีกส่วนสำคัญหนึ่งในการทำให้บทความของเราน่าอ่าน
ส่วนประกอบของบทความ
- เกริ่นนำ
- บทนำ
- เนื้อหา
- สรุป
- อ้างอิง
ส่วนประกอบของบทความนั้นจะทำให้เรารู้ว่าเราควรจะเล่าเรื่องเป็นลำดับขั้นตอนยังไงบ้าง แต่ในบางทีการนำสรุปขึ้นก่อนเพื่อเป็นการดึงดูดให้ผู้อ่านอยากอ่านเนื้อหาต่อไปก็เป็นอีกวิธีนึงของการเรียงส่วนประกอบของบทความที่ใช้ได้ผลมากทีเดียว
กลุ่มเป้าหมาย สำหรับหลายคนอาจจะคิดว่าเราเขียนบทความอะไรก็ได้เพราะตัวหนังสือใครๆก็อ่านได้ไม่จำเป็นต้องกำหนดว่าผู้อ่านเป็นใครขอแค่เขามี Pain Point ที่เราต้องการเข้าไปแก้ให้เขาก็พอ ซึ่งก็ถูกส่วนหนึ่งแต่ถ้าเรารู้กลุ่มเป้าหมายว่าใครที่จะเป็นผู้อ่านของเราเราก็จะสามารถกำหนดรูปแบบการนำเสนอรูปแบบการใช้ภาษาที่ใช้กับบทความของเราได้
การสรุป แน่นอนว่าเมื่อเราเล่าเรื่องทุกอย่างไปแล้วเราต้องมีการสรุปเป็นการขมวดปมเพื่อให้ผู้อ่านนั้นเข้าใจได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นวิธีการสรุปประเด็นตัวอย่างเช่น
- บทความนี้เราพูดถึงอะไรบ้าง
- บอกผู้อ่านว่าผู้อ่านได้อะไรจากบทความนี้
- สร้าง Call To Action
สรุปบทความนี้ผมได้ให้ข้อมูลเบื้องต้นในการเริ่มเขียนบทความและสิ่งที่จำเป็นในการเริ่มเขียน โดยงานเขียนทุกประเภททุกงานมันจะมีวัตถุประสงค์ของมันอยู่ รวมถึงการที่เราได้ให้คุณค่ากับบทความของเราส่งไปถึงผู้อ่านหากเราสามารถสื่อสารและทำให้ผู้อ่านมีปฏิสัมพันธ์กับบทความของเราได้ บทความของเราก็จะได้รับความนิยมและมีผู้ติดตามเพิ่มขึ้นมากครับ
ส่วนในบทต่อๆไปนั้นผมจะมาขยายความการเขียนบทความในแต่ละหัวข้อกันนะครับสำหรับเพื่อนๆที่ต้องการอ่านเรื่องอะไรก็สามารถทักทายเข้ามาในแฟนเพจของผมได้นะครับ
Add comment